

วัตถุประสงค์การจัดงาน
สัมมนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย ประจำปี 2565
เพื่อให้ ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และหัวหน้าส่วนงานต่าง ๆ ได้เข้าใจในบริบทการบริหารงานของมหาวิทยาลัยตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570)
เพื่อระดมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนและร่วมกันอภิปรายถึงแนวทางการดำเนินการตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570)
เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารสายบริหารวิชาการและสายปฏิบัติการ ในการนำแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570 ไปใช้ในการบริหารงานภายในส่วนงานหรือหน่วยงาน
เพื่อให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภายในและภายนอก ผู้บริหารมหาวิทยาลัย และหัวหน้าส่วนงานต่าง ๆ มีโอกาสได้ พบปะปรึกษาหารือ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างบรรยากาศของความร่วมมือร่วมใจในการผลักดันมหาวิทยาลัยให้บรรลุผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้

วิทยากร (Keynote Speaker)
การบรรยายพิเศษ และ
การเสวนาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ
การบรรยายพิเศษ “บทบาทสถาบันการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงของโลก”

โดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย
นักเศรษฐศาสตร์และผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีระดับโลก ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Group Chief Economist ของ Sea Limited บริษัทเทคโนโลยีชั้นนำของอาเซียน ซึ่งเป็นผู้ให้บริการที่เป็นรู้จัก และได้รับความนิยม อาทิ เกม RoV อีคอมเมิร์ซ Shopee และ AirPay บริษัทเทคโนโลยี “ยูนิคอร์น” ที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และเป็นผู้เขียนหนังสือ The Great Remake สู่โลกใหม่ ที่ชนะเลิศรางวัลสุดยอดสื่อส่งเสริมการเรียนรู้สร้างสรรค์แห่งปี 2565 ของ OKMD และ “Futuration เปลี่ยนปัจจุบันทันอนาคต” หนังสือขายดีจากสำนักพิมพ์มติชน +moreการเสวนา “Digital Transformation องค์กรขนาดใหญ่: ขับเคลื่อนอย่างไรให้เกิดผล”

โดย ดร.วิรไท สันติประภพ
นักเศรษฐศาสตร์ที่มีประสบการณ์การทำงานหลากหลายด้าน ทั้งในธนาคารพาณิชย์ ตลาดทุน ภาครัฐ และองค์กรระหว่างประเทศ ในอดีตดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและกรรมการในคณะกรรมการที่กำหนดนโยบายเศรษฐกิจของประเทศหลายคณะ +more
โดย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ
มีประสบการณ์ทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมานานกว่า 20 ปี เปลี่ยนผ่านภาครัฐสู่ความเป็นดิจิทัลทุกมิติ เพื่อมุ่งสู่การสร้างบริการที่มีคุณค่าให้กับประชาชน ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (DGA) +more
ผู้ดำเนินรายการ
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ
ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การบรรยายพิเศษ “แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ.2566 – 2570)”

โดย ศาสตราจารย์ ดร.นายแพทย์พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ด้านยุทธศาสตร์โดยรวม ด้านบริหารการเงิน การคลัง พัสดุ และทรัพย์สิน และ ด้านกฎหมาย
การบรรยายพิเศษ “แผนการพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล”

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ วรยศ
รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล
คลิปสัมภาษณ์ วิทยากร
[ ดร.สันติธาร เสถียรไทย ]
[ ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ]
[ ดร.วิรไท สันติประภพ ]
[ ผศ.ดร. ณัฐ วรยศ ]
กำหนดการ การจัดสัมมนา
ผู้บริหารมหาวิทยาลัย ประจำปี 2565
การถ่ายทอดแผนพัฒนาการศึกษา
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13
(พ.ศ. 2566 – 2570):
จากนโยบายสู่การปฏิบัติ”
ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2565
09:00 – 16:00 น.
การตรวจหาเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในรูปแบบ (Antigen Test Kit : ATK) ณ ศูนย์กีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
วัน เสาร์ ที่ 18 มิถุนายน 2565
07:30 – 08:15 น.
ลงทะเบียน
08:15 – 09:00 น.
พิธีเปิดการสัมมนาและบรรยายพิเศษ
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย (นายกสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
กล่าวรายงาน
โดย ศาสตราจารย์คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิต (อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
09:00 – 10:30 น.
การบรรยายพิเศษ “บทบาทสถาบันการศึกษากับการเปลี่ยนแปลงของโลก”
โดย ดร.สันติธาร เสถียรไทย (Group Chief Economist บริษัท Sea Limited และผู้เขียนหนังสือ The Great Remake สู่โลกใหม่)
10:30 – 10:45 น.
พักรับประทานอาหารว่าง
10:45 – 12:15 น.
การเสวนา “Digital Transformation องค์กรขนาดใหญ่:ขับเคลื่อนอย่างไรให้เกิดผล”
โดย ดร.วิรไท สันติประภพ (อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยและกรรมการสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
โดย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ (ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล)
ผู้ดำเนินรายการ ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ (ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
12:15 – 13:15 น.
พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:15 – 14:45 น.
การบรรยายพิเศษ “แผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 13 (พ.ศ. 2566 – 2570)”
โดย ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล (รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
14:45 – 15:15 น.
การบรรยายพิเศษ “แผนการพัฒนามหาวิทยาลัยดิจิทัล”
โดย ผศ.ดร.ณัฐ วรยศ (รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
15:15 – 17:30 น.
การประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นเชิงนโยบายต่อแผน 13
กลุ่มที่ 1
: มช. จะรวมพลังสร้างองค์ความรู้ แนวปฏิบัติ และดำเนินการในการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมไปถึงการบรรลุซึ่งความเป็นกลางทางคาร์บอนได้อย่างไร?(SO1: Biopolis Platform)
กลุ่มที่ 2
: มช. จะร่วมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านนวัตกรรมและ เทคโนโลยีทางการแพทย์ของประเทศด้วยสตาร์ทอัพจากคณาจารย์ และผู้เรียนได้อย่างไร? (SO2: Medicopolis Platform)
กลุ่มที่ 3
: มช. จะสามารถยกระดับจาก ล้านนาสร้างสรรค์ สู่การพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ มูลค่าสูง ให้เศรษฐกิจเชียงใหม่ จนเป็นตัวอย่างในการยกระดับมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมด้วยนวัตกรรมอย่างยั่งยืน ได้อย่างไร?(SO3: Creative Lanna Platform)
กลุ่มที่ 4
: มช.จะยกระดับความสามารถในการรับเข้าให้ได้ผู้เรียนที่มีความเหมาะสมได้อย่างไร? (SO4 : Education Platform)
กลุ่มที่ 5
: มช. จะก้าวข้ามหลักสูตรตามความสามารถของผู้สอนสู่ความต้องการของผู้เรียนและสังคมได้อย่างไร? (SO4 : Education Platform)
กลุ่มที่ 6
: เพื่อสร้างงานวิจัยพื้นฐาน วิจัยขั้นแนวหน้า วิจัยเชิงลึก รวมไปถึงการนำไปสู่การสร้างประโยชน์และนวัตกรรม ที่เป็นเลิศ มช. ต้องปรับปรุงห่วงโซ่แห่งคุณค่าในการดำเนินการอย่างไร? (SO5 : Research and Innovation Platform)
กลุ่มที่ 7
: ร่วมคิดพิชิตปัญหา PM 2.5: จากวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมถึงปัญหาสังคมเชิงโครงสร้าง มช. จะรวมพลังสร้างข้อเสนอเชิงนโยบาย ผลักดันการดำเนินงาน และใช้องค์ความรู้ในการแก้ไขปัญหาหมอกควันได้อย่างไร (PM2.5 Hackathon)
แนวทางการอภิปรายในการแบ่งกลุ่มย่อย สัมมนาผู้บริหาร 2565
- เป้าหมายในการเพิ่มคุณค่า (Value) ของ Flagship
- การแก้ไข Pain point ของมหาวิทยาลัย
- อุปสรรคในการดำเนินการตาม Flagship
- ความเสี่ยงในการดำเนินการตามแผน
วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน 2565
08:00 – 08:30 น.
ลงทะเบียน
08:30 – 08:50 น.
สรุปภาพรวมของการสัมมนาของวันแรก (Wrap-up)
โดย ศ.ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล (รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
08:50 – 11:10 น.
ผู้แทนกลุ่มสัมมนาเสนอสรุปผลการสัมมนากลุ่มย่อย (นำเสนอ 7 กลุ่ม)
กลุ่มละ 20 นาที
11:10 – 11:50 น.
ตอบข้อซักถามและระดมข้อคิดเห็นต่อแผน 13 ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
11:50 – 12:00 น.
สรุปผล และปิดการสัมมนา
โดย ศาสตราจารย์คลินิก นพ.นิเวศน์ นันทจิต (อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
12:00 – 13:30 น.
รับประทานอาหารกลางวัน
การประชุม แบ่งกลุ่มย่อย
**รายชื่อผู้เข้าร่วมสามารถตรวจสอบข้อมูลได้จาก CMU Mobile App**
กลุ่มที่ 1 จำนวน: 35 ท่าน ห้องแบ่งกลุ่ม: เรือนรับรองเอนกประสงค์ 1
: SO1 มช. จะรวมพลังสร้างองค์ความรู้ แนวปฏิบัติ และดาเนินการในการ ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศรวมไปถึงการบรรลุ ซึ่งความเป็นกลางทางคาร์บอนได้อย่างไร?
กลุ่มที่ 2 จำนวน: 92 ท่าน ห้องแบ่งกลุ่ม: ศาลาไทย
: SO2 มช. จะร่วมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านนวัตกรรมและ เทคโนโลยีทางการแพทย์ของประเทศด้วยสตาร์ทอัพจาก คณาจารย์ และผู้เรียนได้อย่างไร?
กลุ่มที่ 3 จำนวน: 87 ท่าน ห้องแบ่งกลุ่ม: ห้องประชุมเล็ก
: SO3 มช. จะสามารถยกระดับจาก ล้านนาสร้างสรรค์ สู่การพัฒนาเมือง สร้างสรรค์ มูลค่าสูง ให้เศรษฐกิจเชียงใหม่ จนเป็นตัวอย่างในการ ยกระดับมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจฐานวัฒนธรรมด้วยนวัตกรรม อย่างยั่งยืน ได้อย่างไร?
กลุ่มที่ 4 จำนวน: 80 ท่าน ห้องแบ่งกลุ่ม: ทองกวาว 1 (สำนักบริการวิชาการ)
: SO4 (1) มช.จะยกระดับความสามารถในการรับเข้าให้ได้ผู้เรียนที่มีความ เหมาะสมได้อย่างไร?
กลุ่มที่ 5 จำนวน: 86 ท่าน ห้องแบ่งกลุ่ม: ทองกวาว 2 (สำนักบริการวิชาการ)
: SO4 (2) มช. จะก้าวข้ามหลักสูตรตามความสามารถของผู้สอนสู่ความ ต้องการของผู้เรียนและสังคมได้อย่างไร?
กลุ่มที่ 6 จำนวน: 114 ท่าน ห้องแบ่งกลุ่ม: ห้องประชุมใหญ่
: SO5 เพื่อสร้างงานวิจัยพื้นฐาน วิจัยขั้นแนวหน้า วิจัยเชิงลึก รวมไปถึง การนำไปสู่การสร้างประโยชน์และนวัตกรรม ที่เป็นเลิศ มช. ต้องปรับปรุงห่วงโซ่แห่งคุณค่าในการดำเนินการอย่างไร?
กลุ่มที่ 7 จำนวน: 16 ท่าน ห้องแบ่งกลุ่ม: เรือนรับรองอเนกประสงค์ 2
: PM2.5 NCDs related ร่วมคิดพิชิตปัญหา PM 2.5: จากวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมถึง ปัญหาสังคมเชิงโครงสร้าง มช. จะรวมพลังสร้างข้อเสนอเชิง นโยบาย ผลักดันการดาเนินงาน และใช้องค์ความรู้ในการแก้ไข ปัญหาหมอกควันได้อย่างไร
รายชื่อผลงาน Poster Presentation
มาตรการเพื่อความปลอดภัย
ห่างไกลจาก COVID-19
ผ่านจุดคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และผ่านมาตรการคัดกรองครบทุกจุดทางเข้า
ผู้เข้าร่วมการสัมมนาสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
หมั่นทำความสะอาดล้างมือ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้บ่อยครั้ง
เว้นระยะห่างทางสังคม อย่าให้แออัด
ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก
มีการทำความสะอาดจุดสัมผัสสาธารณะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
ผ่านจุดคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และผ่านมาตรการคัดกรองครบทุกจุดทางเข้า
ผู้เข้าร่วมการสัมมนาสวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
หมั่นทำความสะอาดล้างมือ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ล้างมือให้บ่อยครั้ง
เว้นระยะห่างทางสังคม อย่าให้แออัด
ไม่ประมาท การ์ดอย่าตก
มีการทำความสะอาดจุดสัมผัสสาธารณะด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
ขั้นตอนการเข้ารับการตรวจหา เชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (Covid-19) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit : ATK
กลุ่มที่ 1 ผู้เข้าร่วมการสัมมนาทุกท่าน
จะต้องเข้ารับการตรวจเพื่อหาเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (Covid-19)
โดยสามารถเข้ารับการตรวจได้ ในวันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ณ ศูนย์กีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โดยเจ้าหน้าที่จากศูนย์บริการเทคนิคการแพทย์คลินิก คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับผิดชอบการตรวจหาเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (Covid-19)
ผลตรวจดังกล่าวจะถูกบันทึกในโปรแกรมหมอพร้อม และบันทึกใน CMU Mobile "และผลตรวจจะใช้สำหรับการลงทะเบียนเพื่อเข้างาน"
กลุ่มที่ 2 เฉพาะ ผู้ทรงคุณวุฒิ ทุกท่าน
สามารถเข้ารับการตรวจได้ใน
วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2565 ตั้งแต่เวลา 07.00 น. เป็นต้นไป ณ ห้องพยาบาลโถงทางเดินเข้าหอประชุม
ขั้นตอนการตรวจของ วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน 2565 เป็นดัง step ด้านล่างนี้
First Step

เตรียมบัตรประชาชน
เพื่อยืนยันตัวตนก่อนเข้ารับการตรวจ
Second Step

เข้ารับการตรวจตรวจหาเชื้อไวรัส โคโรนา 2019 (Covid-19) ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit : ATK วันที่ 17 มิถุนายน 2565 ณ ศูนย์กีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น.
Third Step

รอรับผลการตรวจผ่าน Application หมอพร้อม แจ้งผลภายใน 15 นาที
ขั้นตอนการลงทะเบียนเข้าร่วม
สัมมนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย ประจำปี 2565
วันที่ 18 -19 มิถุนายน 2565 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
** โปรด download CMU Mobile และ
ลงทะเบียน Application ก่อนเข้าร่วมสัมมนา **
First Step

ทำการเปิด CMU Mobile Application ในอุปกรณ์ Device ของท่าน
>> กดเลือกเมนู “Service” (แถบ Menu Bar ด้านล่าง)
>> เลือกกดเมนู “CMU Seminar 2022” ในหมวด Other Services
Second Step

แสดง QR Code ของท่านใน CMU Mobile Application
เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการสแกน QR Code ของท่าน ในการตรวจสอบข้อมูลผลการตรวจ ATK และยืนยันการลงทะเบียนเข้าร่วมงาน
>> จากนั้นหน้าจอ Device ของท่านจะปรากฏสถานะการลงทะเบียน (Status) ของท่าน
Third Step

หน้าจอ Device ของท่านจะปรากฏข้อมูลส่วนบุคคล (Personalized) ของท่าน ดังนี้
- ชื่อ-สกุล
- สังกัด
- ข้อมูลการประชุมแบ่งกลุ่มย่อย
- ข้อมูลการรับประทานอาหาร
- ข้อมูลผลการตรวจ ATK
- เอกสารดาวน์โหลด
สิ่งอำนวยความสะดวก
Free WiFi
ITSC ให้บริการเครือข่ายไร้สายแก่ผู้เข้าร่วมงานทั่วบริเวณงาน โดยแบ่งออกเป็น 2 ชื่อเครือข่าย ตามคลื่นความถี่ คือ @JUMBOPLUS 2.4GHZ และ @JUMBOPLUS5GHZ 5.0GHZ โดยใช้เพียงบัญชีไอทีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU ACCOUNT) ในการเชื่อมต่อเพียงครั้งแรกครั้งเดียว
พร้อมทั้งมี Access Point (อุปกรณ์ช่วยขยายสัญญาณไวไฟให้ไกลและกว้างขี้น) ติดตั้งไว้บริการ
หอประชุมใหญ่ มช. มี Access Point ทั้งหมด 36 ตัว
- ในห้องประชุมใหญ่มีจำนวน 12 ตัว (ชั้น1 จำนวน 6 ตัว ชั้น2 จำนวน 6 ตัว)
- ในห้องสโลปเล็กมีจำนวน 3 ตัว
มี Access Point ทั้งหมด 74 ตัว
- ในห้องประชุมที่ชั้น1 มี 2 ห้อง มีห้องละ 3 ตัว กับ 1 ตัว
- ในห้องประชุมใหญ่ที่ชั้น 2 มี จำนวน 8 ตัว
สถานที่จอดรถ
บริการที่จอดรถ บริเวณลานจอดรถของ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ หอศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยจะมีรถไฟฟ้า ขสมช. บริการรับ-ส่งผู้เข้าร่วมงาน ถึงหอประชุมมช.
หน้ากากอนามัย-แอลกอฮอลล์
มีบริการหน้ากากอนามัยและแอลกอฮอลล์ วางบริการไว้ทั่วงานตามจุดต่างๆ
สถานที่จัดงาน
หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สถานที่จัดงานประชุม)
ศูนย์กีฬาและสุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (สถานที่ตรวจ ATK)
Floor Plan & ผังจัดที่นั่ง 500 ที่นั่ง
ดาวน์โหลดผังจัดที่นั่ง 500 ที่นั่ง
ภาพ บรรยากาศ
คณะผู้จัดงานสัมมนาผู้บริหาร
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประจำปี 2565
หากมีข้อสงสัย
ติดต่อสอบถาม
ข้อมูลกำหนดการ ข้อมูลวิทยากร รายชื่อผู้ร่วมงาน รายชื่อกลุ่ม: กองบริหารงานบุคคล
โทรศัพท์ : 053-941312,053-943115
ข้อมูลการประชาสัมพันธ์: ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์
โทรศัพท์ : 053-943333, 053-944444
ข้อมูล CMU Mobile App และระบบการลงทะเบียน: ศูนย์บริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ
โทรศัพท์ : 053-941492-4
ข้อมูลเว็บไซต์: สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
โทรศัพท์ : One Stop Service : 053-943827-28
ข้อมูลการประชาสัมพันธ์: ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์
โทรศัพท์ : 053-943333, 053-944444
ข้อมูล CMU Mobile App และระบบการลงทะเบียน: ศูนย์บริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ
โทรศัพท์ : 053-941492-4
ข้อมูลเว็บไซต์: สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ
โทรศัพท์ : One Stop Service : 053-943827-28
Contact Info
ติดต่อมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Adress
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 239 ถนนห้วยแก้ว ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
Phone Number
โทรศัพท์ :+66 5394 1000,
+66 5394 1300
โทรสาร : +66 5321 7143
E-mail Address
ccarc@cmu.ac.th
Working days/Hours
Mon - Fri
8:30AM - 4:30PM
เครือข่ายการดำเนินงาน



